เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 1. ปุพพสูตร

3. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า จิต
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด
อบรมจิตให้สว่างอยู่
4. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
เมื่ออิทธิบาท 4 ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปใน
น้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปใน
อากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :392 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [7. อิทธิปาทสังยุต]
2. ปาสาทกัมปนวรรค 1. ปุพพสูตร

เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์บุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิต
มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ1ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือ
จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีสิ่งอื่น
ยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง
5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง
100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น
เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง
นั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
เมื่ออิทธิบาท 4 ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย) กำลังอุบัติ(เกิด) ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ